รายละเอียดเว็บบอร์ด

หัวข้อ -> การกำจัดของเสียที่ติดไฟได้ง่าย ตาม กฎกระทรวงฯ ใหม่ ครับ
 
เรียน อาจารย์ปิยะชัย ที่นับถือ ขอรับ
ก่อนอื่น ต้อง ขอบพระคุณอาจารย์อย่างมากที่สุด เลย ครับ สำหรับ กฎกระทรวงฯ ใหม่ ล่าสุด ที่ UP DATE
ผม เริ่ม สงสัย ถึง ประเด็น หมวด 6 ข้อที่ 24 เกี่ยวกับ การกำจัดของเสียที่ติดไฟได้ง่าย อ่ะ ครับ อาจารย์
แต่ ผม เข้า ใจ ว่า ถ้า เป็น โรงงานอุตสาหกรรม คง จะ กระทำมิได้ แน่ๆ น่าจะ ขัด กับ ประกาศกระทรวงอุตฯ ที่ มี อยู่ แต่ ก็ สงสัย ต่อ ไป นะ ครับ ว่า กฎกระทรวงฯ ใหญ่ กว่า ประกาศกระทรวง ฯ ใช่ มั้ย ครับ แต่ กรณี สงสัย นี้ เป็น คน ละ กระทรวง กัน ทำอย่างไร ดี ครับ ท่านอาจารย์
ปล. ผม เข้าใจ ว่า กฎหมายฯ สาระ สำคัญ อะไร เข้มข้น เคร่งครัด กว่า กัน ยึด กฎหมายฯ นั้น เป็นบรรทัด ฐาน ( ถูก หรือ ไม่ ครับ)
 
ผู้ตั้ง : จิรทีปต์ เดชา วันที่ : 13 ม.ค. 56 23:14:55 น. ผู้ชม : 14,539
 

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น : กรอกความคิดเห็นค่ะ
ชื่อผู้ตั้ง : กรอกชื่อผู้ตั้งค่ะ
กรอกรหัสป้องกัน
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
จากกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๕๕ ของกระทรวงแรงงาน ในหมวด 6 การกำจัดของเสียที่ติดไฟได้ง่ายด้วยการเผานั้น ผู้ประกอบการหลายแห่งคงคิดว่าน่าจะสร้างเตาเผาขยะได้ภายในโรงงานได้ ซึ่งจริงๆแล้วกรมโรงงานก็อนุญาตครับ แต่ผมก็กำลังรอดูอยู่ว่าจะมีโรงงานไหนบ้างจะกล้าสร้างเตาเผาขยะภายในโรงงาน เพราะท่านจะต้องตรวจคุณภาพอากาศจากเตาเผาโดยมีสารมลพิษอยู่ 9 รายการที่ต้องตรวจวัดตาม ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องเตาเผาสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นอันตรายจากอุตสาหกรรม พ.ศ. 2545 และ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอย พศ.2553
ประเด็นสำคัญ คือ 1 ใน 9 รายการของสารมลพิษของสารประกอบไดออกซิน (PCDD/PCDFs) ถามว่ามีหน่วยงานวิเคราะห์ใดในเมืองไทยที่สามารถตรวจวัดและวิเคราะห์สารประกอบไดออกซินได้บ้าง ให้สอบถามไปยังกรมควบคุมมลพิษและกรมวิทยาศาสตร์บริการ หรือ หน่วยงานวิเคราะห์ (Lab) เอกชนเลยครับ ว่าประสงค์จะตรวจวัดสารประกอบไดออกซิน จะตรวจวัดได้หรือไม่ และมีค่าใช้จ่ายเท่าไร
นอกเหนือจากนี้ ผมยังรอดูว่า หากท่านกล้าที่จะเผาขยะภายในโรงงาน อาจจะมีชาวบ้านหรือโรงงานข้างเคียงอ้างเหตุตามมาตรา 25 เหตุรำคาญ คือ การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และ มาตรา 80 ผู้ดำเนินกิจการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละ 5,000บาทตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ไปฟ้องร้องโรงงาน
รวมถึงมาตรา 220 ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใด ๆ แม้เป็นของตัวเองจนน่าเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น หรือ ทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาท แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ไม่ใช่เฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น ที่อยู่ในข่ายกฎหมายดังกล่าว แต่ให้รวมถึงสถานประกอบการทุกแห่งที่คิดจะมีเตาเผาขยะภายในด้วยครับ ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอย พศ.2553, พรบ.สาธารณสุข พ.ศ. 2535 และประมวลกฎหมายอาญา ดังกล่าวข้างต้น การยินยอมให้นายจ้างสามารถกำจัดของเสียที่ติดไฟได้ง่ายด้วยการเผานั้น ไม่อาจลบล้างหรือยกมาอ้างเหตุไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องข้างต้นได้ครับ

 
ผู้ตั้ง : ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล วันที่ : 16 ม.ค. 56 21:35:32 น.