การจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก
(Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals - GHS)
ดร.ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล
[email protected], [email protected]
ปัจจุบัน คงยากที่จะปฏิเสธว่าเราทุกคนสัมผัสกับสารเคมีที่มีใช้อยู่ในชีวิตประจำวันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะอยู่ในทุกช่วงเวลาใดในแต่ละวัน นับตั้งแต่สบู่ ยาสีฟัน แชมพู สารเคมีที่ผสมในอาหารที่รับประทาน ครีมและโลชั่นบำรุงผิว และเครื่องสำอาง ล้วนแล้วแต่มีส่วนผสมของสารเคมีอยู่ด้วยทั้งสิ้น ผู้ผลิตสินค้าจำเป็นต้องใช้สารเคมีมาใช้ในส่วนผสมตามสูตรการผลิต จึงนำมาซึ่งการจัดเก็บและการขนส่งสารเคมี จากผู้ประกอบการหนึ่งไปยังผู้ประกอบการอีกแห่งหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเราใช้ชีวิตอยู่ในท้องถนน ย่อมพบเห็นรถบรรทุกสารเคมีวิ่งร่วมทางกับเรา บางครั้งเราพบเห็นฉลากติดบนรถบรรทุกสารเคมี ก็ไม่เข้าใจว่าแสดงสัญลักษณ์อะไร มีระดับอันตรายประมาณไหน แต่รับรู้ว่าต้องอยู่ห่างๆเป็นดีที่สุด หรือเราทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้สารเคมีคงพบเห็นฉลากและข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีบนข้างภาชนะบรรจุ ก็ไม่เข้าใจ เป็นข้อมูลสารเคมีอะไรบ้าง แม้กระทั่งหากเรามีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศจะยิ่งพบเห็นสื่อสัญลักษณ์แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ จึงเป็นเรื่องยากที่จะสื่อสารข้อมูลสารเคมีให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจเป็นหนึ่งเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของความพยายามการสร้างข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมี ที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก ซึ่งมีพื้นฐานมาจากข้อตกลงระหว่างประเทศในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (UNCED) ในปี พ.ศ.2535 โดยในที่สุด ภายใต้แผนงานความร่วมมือระหว่างองค์กรเกี่ยวกับการจัดการที่ถูกต้องของสารเคมี (Interorganization Programme for the Sound Management of Chemicals; IOMC) และคณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญแห่งงสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายและด้านการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีให้เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก (UNCETDG/GHS) ออกเอกสารคู่มือการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมี ที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลกตั้งแต่ปีพ.ศ.2545 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน นับว่า GHS พัฒนาเข้าสู่ Revision No.4 (2011) แล้ว แต่ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๕ ยังคงอ้างอิง Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals (GHS), third revised edition, UNITED NATIONS, New York and Geneva, 2009 ซึ่งเป็น Revision No.3 (2009)
สำหรับประเทศไทยนั้นมีการออกกฎหมายพรบ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 และกฎหมายประกอบเพื่อรองรับการบริหารจัดการวัตถุอันตราย ล่าสุดกระทรวงอุตสาหกรรม ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๕ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2555)ตามโครงร่างของ GHS (Revision No.3 / 2009) ดังกล่าว ประเด็นสำคัญของการบังคับใช้กฎหมายนี้มีความชัดเจนในหน้าที่ของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตราย ดังนี้
1. “วัตถุอันตราย” หมายความว่า วัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ ยกเว้นของเสียเคมีวัตถุ(CHEMICAL WASTES) และเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ ว ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ออกตามความในมาตรา ๑๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕
2. “สารเดี่ยว (Substance)” หมายความว่า ธาตุหรือสารประกอบที่อยู่ในสถานะธรรมชาติหรือเกิดจากกระบวนการผลิตต่าง ๆ ทั้งนี้รวมถึงสารเติมแต่งที่จำเป็นในการรักษาความเสถียรของสารเดี่ยว หรือสารเจือปนที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต แต่ไม่รวมถึงสารตัวทำละลายที่สามารถแยกออกมาจากสารเดี่ยวได้โดยไม่มีผลต่อความเสถียรของสารเดี่ยวหรือไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสารเดี่ยว
3. “สารผสม (Mixture)” หมายความว่า สารผสมหรือสารละลายที่ประกอบด้วยสารเดี่ยวสองชนิด หรือมากกว่าที่ไม่ทาปฏิกิริยาต่อกัน
4. ให้ผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าซึ่งวัตถุอันตรายที่เป็นสารเดี่ยวและสารผสมต้องดำเนินการตามข้อกำหนดว่าด้วยระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย แนบท้ายประกาศ ดังต่อไปนี้
4.1 จำแนกความเป็นอันตรายทางกายภาพ ๑๖ ประเภท และความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๑๐ ประเภท และความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ๒ ประเภท
4.2 ติดฉลาก
4.3 จัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัย
5. ทั้งนี้ สารเดี่ยวให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลา ๑ ปี และสารผสมให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลา ๕ ปี นับจากวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
6. 5. การส่งออกซึ่งวัตถุอันตรายต้องมีการจำแนกความเป็นอันตรายติดฉลากวัตถุอันตราย และจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัย ให้เป็นไปตามข้อกำหนดว่าด้วยระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย ยกเว้นกรณีประเทศคู่ค้ามีข้อกำหนดเกี่ยวกับการนี้เป็นการเฉพาะ
7. 6. ให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายมีหน้าที่ต้องสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายในรูปแบบของฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยที่ผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าจัดทำแล้วแต่กรณี เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายนั้นๆ ได้อย่างปลอดภัย
โดยสรุปหลักการสำคัญของ GHS จะแบ่งเป็น 2 หมวดหลัก คือ
หมวดที่ 1 ว่าด้วยการจำแนกความเป็นอันตราย
1. 1. ความเป็นอันตรายทางกายภาพ 16 ประเภท
1.1 วัตถุระเบิด (Explosives)
1.2 ก๊าซไวไฟ (Flammable gases)
1.3 ละอองลอยไวไฟ (Flammable aerosols)
1.4 ก๊าซออกซไดส์ (Oxidizing gases)
1.5 ก๊าซภายใต้ความดัน (Gases under pressure)
1.6 ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids)
1.7 ของแข็งไวไฟ (Flammable solids)
1.8 สารทีทำปฏิกิริยาได้เอง (Self-reactive substances and mixtures)
1.9 ของเหลวทีลุกติดไฟได้เองในอากาศ (Pyrophoric liquids)
1.10 ของแข็งทีลุกติดไฟได้เองในอากาศ (Pyrophoric solids)
1.11 สารทีเกิดความร้อนได้เอง (Self-heating substances and mixtures)
1.12 สารทีสัมผัสน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ (Substances and mixtures which, in contact with water, emit flammable gases)
1.13 ของเหลวออกซไดส์ (Oxidizing liquids)
1.14 ของแข็งออกซไดส์ (Oxidizing solids)
1.15 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic peroxides)
1.16 สารกัดกร่อนโลหะ (Corrosive to metals)
2. ความเป็นอันตรายทางสุขภาพ 10 ประเภท ได้แก่
2.1 ความเป็นพิษเฉียบพลัน (Acute toxicity)
2.2 การกัดกร่อนและการระคายเคืองต่อผิวหนัง (Skin corrosion/irritation)
2.3 การทาลายดวงตาอย่างรุนแรงและการระคายเคืองต่อดวงตา (Serious eye damage/eye irritation)
2.4 การทำให้ไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ต่อระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนัง (Respiratory or skin sensitization)
2.5 การก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์สืบพันธุ์ (Germ cell mutagenicity)
2.6 การก่อมะเร็ง (Carcinogenicity)
2.7 ความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ (Reproductive toxicity)
2.8 ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจงจากการรับสัมผัสครั้งเดียว (Specific target organ toxicity - Single exposure)
2.9 ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจงจากการรับสัมผัสซ้ำ (Specific target organ toxicity - Repeated exposure)
2.10 ความเป็นอันตรายจากการสำลัก (Aspiration hazard)
3. 3. ความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม 2 ประเภท
3.1 ความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในน้ำ (Hazardous to the aquatic environment)
3.2 ความเป็นอันตรายต่อโอโซนในบรรยากาศ (Hazardous to the ozone environment)
ผู้เขียนขอย้ำว่าในแต่ละประเภทยังมีรายละเอียดเป็นประเภทย่อยอีกมาก และแต่ละประเภทของวัตถุอันตรายดังกล่าวจะมีการสื่อสารด้วยฉลากและสัญลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันด้วย ผู้สนใจควรศึกษาเพิ่มเติมในประกาศกระทรวงฯดังกล่าว
หมวดที่ 2 ว่าด้วยการการสื่อสารความเป็นอันตราย ประกอบด้วย
1. ฉลาก (Labels) องค์ประกอบย่อยของฉลาก ได้แก่
1.1 ตัวบ่งชี้ผลิตภัณฑ์ (Product identifier)
1.2 รูปสัญลักษณ์ (Pictograms)
1.3 คำสัญญาณ (signal word)
1.4 ข้อความแสดงความเป็นอันตราย (Hazard Statements)
1.5 ข้อความแสดงข้อควรระวัง (Precautionary statements)
1.6 การบ่งชี้ผู้จัดจำหน่าย (Supplier identification)
1.7 ข้อมูลอื่นๆ (Any other additional information)
2. เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheets-SDS) มี 16 หัวข้อ ได้แก่
2.1 การบ่งชี้สารเดี่ยวหรือสารผสมและผู้ผลิต (Identification of the substance or mixture and of the supplier)
2.2 การบ่งชี้ความเป็นอันตราย (Hazards identification)
2.3 องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม (Composition/information on ingredients)
2.4 มาตรการปฐมพยาบาล (First-aid measures)
2.5 มาตรการผจญเพลิง (Fire-fighting measures)
2.6 มาตรการจัดการเมือมีการหกรั่วไหลของสาร (Accidental release measures)
2.7 การขนถ่ายเคลื่อนย้ายใช้งานและเก็บรักษา (Handling and storage)
2.8 การควบคุมการรับสัมผัสและการป้องกันส่วนบุคคล (exposure controls/personal protection)
2.9 คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี (Physical and chemical properties)
2.10 ความเสถียรและการเกิดปฏิกิริยา (Stability and reactivity)
2.11 ข้อมูลด้านพิษวิทยา (Toxicological information)
2.12 ข้อมูลด้านนิเวศวิทยา (Ecological information)
2.13 ข้อพิจารณาในการกำจัด (Disposal considerations)
2.14 ข้อมูลการขนส่ง (Transport information)
2.15 ข้อมูลด้านกฎข้อบังคับ (Regulatory information)
2.16. ข้อมูลอื่นๆ รวมทั้งข้อมูลการจัดทำและการปรับปรุงแก้ไขเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Other information including information on preparation and revision of the SDS)
ด้วยเหตุนี้ ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐ, ผู้ประกอบการและผู้บริโภค ควรจะเตรียมความพร้อมและศึกษาระบบ GHS ให้เกิดความเข้าใจและตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้งานวัตถุอันตรายดังกล่าว ในเมื่อเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวันได้ ก็ควรจะเข้าใจที่จะใช้สารเคมีดังกล่าวให้เกิดอันตรายน้อยที่สุดและมีความปลอดภัยให้มากที่สุดในการใช้งาน
*****End of Article*****
ผู้ชม 4,705 วันที่ 19 มิถุนายน 2556